หลวงพ่อโต วัดรางจระเข้
พระหลวงพ่อโต วัดรางจระเข้ สร้างโดย หลวงพ่อกุหลาบ ธัมมสุทโธ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2509 สำหรับพระเนื้อผงใบลาน เนื้อว่าน และเนื้อ ดินเผา ชาวบ้านนิยมเลี่ยมใช้เป็นชุด 3 องค์ เรียกว่า "พระหลวงพ่อโต 3 คิง"
วัดรางจระเข้ ต.บ้านโพธิ์ อ.เสนา จ.อยุธยา พระหลวงพ่อโต วัดรางจระเข้ มีพุทธลักษณะคล้าย พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง แต่มีขนาดเล็กกระทัดรัด น่าใช้มากมี 7 เนื้อ คือ
1.เนื้อเงิน
2.เนื้อสัมฤทธิ์
3.เนื้อชานหมาก
4.เนื้อเทียนชัยล้วนๆ
5. เนื้อผงใบลาน
6.เนื้อว่าน
7.เนื้อเดินเผา
ลุงป่วน ปัทวี อายุ 71 ปี และ ลุงเคลิ้ม ฤกษ์นาวี อายุ 75 ปี เล่ากรรมวิธีการสร้าง พระหลวงพ่อโต ว่า พระทุกชนิด ทางวัดจัดทำพิธีเททอง และ กดพิมพ์ ทำกันเอง ทั้งสิ้น เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2509 หลวงพ่อกุหลาบ นำชนวน ต่างๆ จากวัด สุทัศน์ กทม เป็นจำนวนมากมาสร้าง เพราะท่านมีความคุ้นเคย กับ สมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยม ตั้งแต่ท่าน ยังไม่ได้มาอยู่ วัดสุทัศน์ ศิษย์ของหลวงพ่อกุหลาบคือ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์ (เชิด จิตตคุตโต) ก็เป็นฐานานุกรมของสมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยม ในสมัยที่ยังไม่มรณภาพ (ปัจจุบันท่านเจ้าคุณเชิด ยังจำพรรษาอยู่ที่คณะ 2 วัดสุทัศน์(ในปี 2527) ) พระหลวงพ่อโต เนื้อโลหะ และเนื้อผง จึงมีส่วนผสม ชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และผงวิเศษ ต่างๆๆ ของวัดสุทัศน์ เป็นชนวนมวลสารสำคัญ รวมกับผงปูนที่กระเทาะองค์หลวงพ่อโต ผงที่หลวงพ่อกุหลาบทำขึ้นเอง ว่าน 108 และเกสรดอกไม้ 108 หลวงพ่อกุหลาบ ทำพิธี ปลุกเสกเป็นอย่างดีแล้ว ท่านได้จัดทำพิธีพุทธาภิเษกขึ้น เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมี พระเขมเทพาจารย์,หลวงพ่อเทพ วัดหัวเวียง เป็นประธานปลุกเสก พร้อมกับพระคณาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอยุธยา 5 องค์ คือ
1.หลวงพ่อวาสน์ วัดบ้านแพน
2.หลวงพ่อปี วัดกระโดงทอง
3.หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้ายใน เจ้าคณะ จังหวัดอยุธยา วัดบรมฯ (ในปี 2527)
4.หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดบางกระทิง
5.หลวงพ่อบุญมี วัดมารวิชัย