กรุวัดมณเฑียร

พระกรุวัดมณเฑียร วัดที่สาบสูญ มีพระเครื่องชื่อดัง คือ "ขุนแผนวัดมณเฑียร" ทั้งที่พิมพ์ทรงเป็น ใบเสมา แต่ทำไมเรียก พระขุนแผน ? 

พระกรุวัดมณเฑียร
พระกรุวัดมณเฑียร

 

พระใบเสมากรุวัดมณเฑียร  เป็นพระที่กำเนิดในสมัยอยุธยาตอนต้น  พระที่พบมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน  ส่วนมากจะพบแต่ประเภทเนื้อดินส่วนพิมพ์แยกได้เป็น 3 พิมพ์

1. พิมพ์ใบเสมาข้างกนก

2. พิมพ์ใบเสมาซุ้มขีด

3. พิมพ์ใบเสมาฐานสูง 

พระใบเสมานี้ภายหลังยังได้พบที่วัด วัดสมณโกษ  ( วัดสมณโกฏฐาราม )  อีกเป็นจำนวนมาก  พุทธลักษณะ  เป็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งมารวิชัยอยู่ในซุ้ม  มีฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับ ด้านข้างมีร่มพฤกษาปรกคลุม  รูปทรงแบบใบเสมา   พิมพ์ข้างกนก เป็นพระพิมพ์ที่พบน้อยมาก  พระจะหนากว่าพิมพ์อื่น ๆ เนื้อหาของพระกรุนี้ จะไม่ค่อยหยาบนัก  สีของเนื้อพระมีหลายสีด้วยกัน  เช่นสีแดง สีส้ม สีน้ำตาล สีเขียว  สีดำ สีเทา และสีพิกุลแห้ง รูปทรงของพระใบเสมา ทั้ง 3 พิมพ์ ล้วนอิงกับรูปแบบของใบเสมาซึ่งเป็นเครื่องหมายปักเขตอุโบสถ   ฐานของใบเสมาแบบบัวคว่ำบัวหงายเป็นศิลป์ของใบเสมาสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้น   พระพิมพ์ใบเสมาจึงจัดเป็นพระที่มีศิลปและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง  และเป็นพระที่อยู่ในความนิยมมาโดยตลอดจากนักนิยมสะสมพระกรุอยุธยา