กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

"กำเนิดพระขุนแผนเคลือบ" กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เดิมคือ "วัดป่าแก้ว" หรือวัดเจ้าพระยาไทย สัญนิษฐานว่าสร้างเมื่อครั้ง พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาแล้ว 7ปีให้หลัง ซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง

กรุวัดใหญ่ชัยมงคลอยุธยา
กรุวัดใหญ่ชัยมงคลอยุธยา

พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระกรุขึ้นชื่อยอดนิยมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็คือ พระขุนแผนเคลือบ และพิมพ์ พระขุนแผน ใบพุทรา ซึ่งพบที่เจดีย์ไชยมงคล สัญนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราช ของพม่า ซึ่งมีประธานฝ่ายสงฆ์เป็น พระสมเด็จพนรัตน์

ขุนแผนกรุวัดใหญ่ขุนแผนกรุวัดใหญ่

พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเท่าที่พบ มีด้วยกันดังนี้ 

1.พระขุนแผนเคลือบพิมพ์อกใหญ่

    1.1.พระขุนแผนเคลือบพิมพ์อกใหญ่ฐานสูง

    1.2.พระขุนแผนเคลือบพิมพ์อกใหญ่ฐานเตี้ย  

 ขุนแผนกรุวัดใหญ่ขุนแผนกรุวัดใหญ่

 2.พระขุนแผน เคลือบพิมพ์แขนอ่อน

ซึ่งทั้งสองพิมพ์นี้ ด้านหน้าจะถูกเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบถ้วยชาม หรือกระเบื้องหลังคาโบสถ์สมัยโบราณ แต่ด้านหลังขององค์พระจะไม่เคลือบน้ำยา สำหรับด้านข้างองค์พระอาจมีร่องรอยน้ำยาเคลือบไหลจากด้านหน้าลงมาอยู่บ้าง

 ขุนแผนกรุวัดใหญ่ขุนแผนกรุวัดใหญ่

3.พระขุนแผนใบพุทรา 

     3.1.พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดิน

     3.2.พระขุนแผนใบพุทราเนื้อชิน 

 ขุนแผนกรุวัดใหญ่ขุนแผนกรุวัดใหญ่ขุนแผนกรุวัดใหญ่

4.พระนางพญาหน้าอิฐ เนื้อดิน

นางพญากรุวัดใหญ่ 

 

 ประวัติความเป็นมาของพระขุนแผน

 "ขุนช้าง ขุนแผน" เป็นเรื่องแต่งขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นกาบกลอนขับเสภา แต่ในจดหมายเหตุบันทึกไว้จากเชลยศึกที่ถูกจับไปพม่าเมื่อคราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ระบุเป็นภาษาพม่าว่ามีตัวตันอยู่จริง ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 "ขุนแผน" เดิมชื่อ "พรายแก้ว" เป็นเพื่อนกับ "ขุนช้าง" ในวัยเด็ก ชอบพอผู้หญิงคนเดียวกัน คือ นางวันทอง ด้วยเป็นหนุ่มรูปงาม พรายแก้วจึงได้นางสายทอง ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง นางวันทองมาเป็นภรรยาคนที่ 1 ก่อนจะมาได้กับนางวันทองเป็นภรรยาคนที่ 2 พรายแก้วนั้นเป็นชายหนุ่มที่เก่งกล้าสามารถในเชิงรบ จนได้รับยศ เป็น "ขุนแผน แสนสะท้าน" และได้รับนางลาวทองมาเป็น ภรรยาคนที่ 3 มาอยู่กินที่เมืองกาญจนบุรี ซึ่งตอนขุนแผนออกศึก ขุนช้างได้สร้างอุบายว่าขุนแผนเสียชีวิตในสนามรถจึงได้นางวันทองมาเป็นเมีย ส่วนขุนแผนนั้นได้ของวิเศษ 3 ประการ คือ ดาบฟ้าฟื้น, ม้าสีหมอก, กุมารทอง จึงแอบขึ้นเรือนขุนช้างพานางวันทองซึ่งเคยเป็นภรรยากันแต่เดิม แต่ถูกขุนช้างใช้กลอุบายหลอกให้แต่งงาน ขุนแผนจึงนำนางวันทอง ไปอยู่กินที่ สุพรรณบุรี และขุนแผนนั้น ยังมีภรรยาคนที่4 คือนางบัวคลี่ และภรรยาคนที่ 5 คือนางแก้วกิริยา นี่เป็นเรื่องย่อๆ ของ "ขุนแผน" ซึ่งหลายคนสงสัยมากว่าเกี่ยวอะไรกับพระขุนแผน แล้วห้อยพระขุนแผนจะเจ้าชู้หลายเมียหรือมีผู้หญิงมาหลงใหลชอบพอมากมายอย่างขุนแผนจริงหรือ ?

พระพิมพ์ขุนแผน มีพุทธลักษณะ รูปทรงห้าเหลี่ยม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับในซุ้มเรือนแก้ว สัญนิษฐานว่า จำลองมาจาก พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก แล้วทำไมจึงเรียก "พระขุนแผน" ???

พระขุนแผนที่ได้แตกกรุมาอย่างมากมายและมีชื่อมากที่สุด คือ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง" จังหวัดสุพรรณบุรี ในยุคนั้นไม่ได้มีใครเรียกว่าพระขุนแผน แตกกรุออกมาก็เป็นเพียงพระกรุเนื้อดินพิมพ์ห้าเหลี่ยมธรรมดา การแกะพิมพ์มีลักษณะหยาบๆ บางองค์เป็นพิมพ์เดี่ยว และบางองค์เป็นพิมพ์คู่ติดกันสององค์ เนื้อดินก็เป็นเนื้อดินหยาบๆ ต่อมามีผู้นำไปใช้เกิดพุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นยิ่งนัก และพระกรุนี้พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี จึงขนานนามให้ไพเราะว่า "พระขุนแผน" "พรายเดี่ยว" "พรายคู่" ต่อมาได้มีการบูรณะวัดใหญ่ชัยมงคลที่จังหวัดอยุธยาโดยกรมศิลปกร จึงพบพระพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้ขึ้นอีกในกรุเจดีย์ไชมงคล แต่พุทธลักษณ์จะสวยงามกว่ากรุบ้านกร่างคือ พิมพ์ทรงแกะได้สวยงามประณีตกว่า สัญนิษฐานว่าแกะโดยช่างหลวง และมีการนำน้ำเคลือบซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ทันสมัยในยุคนั้น มาเคลือบผิวองค์พระด้านหน้าไว้ทุกองค์ น้ำเคลือบที่นำมาเคลือบสัญนิษฐานว่าเป็นน้ำเคลือบที่ใช้เคลือบกระเบื้องหลังคา หรือนำไปเคลือบถ้วยชามในสมัยนั้น 

พระขุนแผนพรายเดี่ยว พรายคู่ กรุวัดบ้างกร่างสุพรรณ
พระขุนแผนพรายเดี่ยว พรายคู่ กรุวัดบ้างกร่างสุพรรณ

จึงมีการสัญนิษฐานกันว่า พระพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้ น่าจะเป็นพระที่สร้างขึ้นโดย "พระสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ซึ่งได้เดินทางไปทำยุทธหัตถีที่จังหวัดสุพรรณบุรี และได้รับชัยชนะกลับมา ซึ่งเดิมท่านเป็นเจ้าเมือง พิษณุโลก อยู่แล้วและนับถือ "พระพุทธชินราช" อย่างมาก ในระหว่างเดินทางกลับได้นำทัพผ่าน พื้นที่วัดบ้านกร่างปัจจุบัน จึงนำทัพพักผ่อนที่นั่นแล้วให้ทหารสร้างพระเครื่องเนื้อดินขึ้นเพื่ออุทิศให้กับทหารกล้าที่สละชีพในสนามรบ โดยให้ทหารที่มีฝีมือในการแกะพิมพ์ช่วยกันแกะพิมพ์พระพุทธชินราชขึ้น บางองค์ทหารช่างก็แกะพิมพ์เป็นพระสององค์ติดกัน หมายถึง "พระองค์ดำ พระองค์ขาว" สององค์พี่น้องที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันตลอดมา เมื่อสร้างพระแล้วก็นำไปเผาไฟอย่างง่ายๆไม่ได้พิถีพิถันอะไรมากมายเพราะสร้างในขณะเดินทัพ แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้ ก่อนนำทัพกลับมายังกรุงศรีอยุธยา เมือมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงได้มีการเฉลิมฉลองโดยการสร้างเจดีย์ "ไชมงคล" ขึ้นที่วัดป่าแก้ว หรือ วัดใหญ่ชัยมงคล ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรท่านคงรับสั่งให้สร้างพระพุทธชินราชพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้ เพื่ออุทิศให้กับวีรชนที่สละชีพในการศึกครั้งนี้ โดยให้ช่างหลวงเป็นผู้แกะพิมพ์และทำพิธีพุทธาภิเษก โดย สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว พระอาจารย์ขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สรุปว่า พระขุนแผนนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ "ขุนแผนแสนสะท้าน" ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง "ขุนช้าง ขุนแผน" แต่ประการใด เพียงเซียนพระในยุคแรกที่พบพระพิมพ์นี้ตั้งขึ้นและเรียกขานชื่อพระพิมพ์นี้ ให้ไพเราะเสนาะหู และสอดคล้องกับพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี จึงขนานนามพระพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้ว่า "พระขุนแผน" และที่หลายคนมักจะกล่าวว่าห้อยพระขุนแผนนั้นมักจะมีเพศตรงข้ามให้ความสนใจอุปการะ มีเสน่ห์อย่างแรง ใครๆก็หลงรักชอบพอ ก็เนื่องจากว่า พระเกจิยุคแรกๆ ที่ได้สร้างพระ ล้อพิมพ์ "พระขุนแผน" ขึ้นมามากมายหลายเกจิอาจารย์ และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อ "พระขุนแผน" ผนวกเข้าไปกับ วรรณคดี "ขุนช้าง ขุนแผน" บางพิมพ์จึงมี "กุมารทอง" ในพิมพ์พระขุนแผนที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วย อาจจะมีทั้งด้านหน้า หรือด้านหลัง ก็แล้วแต่ แล้วกำกับคาถา "เมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์" เข้าไป ส่งผลให้พระขุนแผนที่สร้างในยุคพระเกจิ มักจะมีพุทธคุณเด่น ทางด้านเมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์

ปัจจุบันพระพุทธชินราชจำลอง พิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้ ได้ถูกขนานนามว่า "พระขุนแผน" ตลอดกาล